โคลอสเซียม กรุงโรม

สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว

เมื่อพูดถึงสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว หลายๆท่านอาจจะคิดว่ามันไม่น่าไปด้วยกันได้เลย แต่จริงๆแล้วทุกๆวันนี้หากเราจะมองย้อนกลับไปเราจะเห็นว่าสถาปัตยกรรมล้วนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในด้านการท่องเที่ยวเกือบทั้งสิ้น ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้กันว่าสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยวมันเกี่ยวข้องกันยังไงก็จะขออธิบายความหมายสั้นๆของคำว่า “สถาปัตยกรรม” ให้ทราบกันก่อนว่าหมายถึงอะไร

สถาปัตยกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาวซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2ชนิดคือ

  1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
  2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม

หลังจากที่เราทราบถึงความหมายของคำว่าสถาปัตยกรรมกันแล้วคราวนี้ก็คงพอจะนึกภาพกันออกแล้วใช่ไหมค่ะว่าทั้งสองแขนงนี้มันมาเกี่ยวข้องกันได้ยังไง แน่นอนว่าไม่ว่าวันเวลาจะพาไปสักกี่ร้อยกี่พันปีสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ๆที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกที่เราเห็นในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น

มหาพีระมิดแห่งกีซา(The Great Pyramid of Giza)

ปิรามิด อียิปต์ สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
มหาพีระมิดแห่งกีซา(The Great Pyramid of Giza)
มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza)
มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza)

พีระมิดคูฟู หรือ พีระมิดคีออปส์แต่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่าพีระมิดแห่งกีซา  พีระมิดอียิปต์เป็นสิ่งมหัสจรรย์ยุคโบราณเพียงสิ่งเดียวที่ยังคงสภาพเกือบสมบูรณ์เหมือนในอดีต มหาพีระมิดแห่งกีซาตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ณ เมืองกีเซ (Giza) ตอนเหนือของกรุงไคโร  เมืองหลวงของอียิปต์ เป็นพีระมิดที่มีความใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุด ในหมู่พีระมิดทั้งสามแห่งกีซามหาพีระมิดนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียวในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นและยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้ โดยรูปทรงของพีระมิดได้สร้างอย่างมีลักษณะเฉพาะตัว ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วยด้านสามเหลี่ยม 4 ด้าน ยอดสามเหลี่ยมแต่ละด้าน เอียงเข้าบรรจบกัน เป็นยอดแหลม ฐานทั้ง 4 ด้านของพีระมิด กว้างด้านละประมาณ 230 เมตร (756 ฟุต กว้างกว่า สนามฟุตบอล ต่อกัน 2 สนาม) คิดเป็นพื้นที่ฐานประมาณ 53,000 ตารางเมตรหรือประมาณ 33 ไร่ ฐานล่างสุดของพีระมิด ก่อขึ้นบนชั้นหินแข็ง ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นทราย เพื่อป้องกันปัญหา การทรุดตัวของชั้นทราย ซึ่งจะมีผล กับความคงทนแข็งแรง ของโครงสร้างพีระมิด ผิวหน้าแต่ละด้านของ พีระมิดคูฟู ทำมุมเอียงประมาณ 52 องศา ซึ่งมีส่วนทำให้พีระมิด คงทนต่อการสึกกร่อน อันเนื่องมาจากพายุทราย

สันนิษฐานว่าผู้สร้างพีระมิดนี้ อาศัยดวงดาวเป็นหลัก นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของพีระมิดแล้ว การก่อสร้างให้ สำเร็จยัง น่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่าถ้าทราบว่าหินเหล่านี้ต้องสกัดมาจากภูเขาที่อยูไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ล่องลงมาเป็น ระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อส้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยก วางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต ใจกลางพีระมิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออพส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต หีบพระศพของพระเจ้าคีออพส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องปิรามิดของพระเจ้าคีออพส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และพีระมิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง

ทัชมาฮาล TAJ Mahal มหัศจรรย์ สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว

ทัชมาฮาล หรือ ตาชมหัล (Taj Mahal; /ˌtɑːdʒ məˈhɑːl, ˌtɑːʒ-/; แปลว่า มงกุฏของวัง, [taːdʒ ˈmɛːɦ(ə)l])[4][5][6] เป็นอาคารฝังศพสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวงาช้าง ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำทางใต้ของแม่น้ำยมุนา ในเมืองอัคระ รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ทัชมาฮาลเริ่มสร้างขึ้นในปี 1632 โดยจักรพรรดิโมกุล จักรพรรดิชาห์ชะฮัน (ครองราชย์ 1628 ถึง 1658) เพื่อตั้งศพของพระสนมเอก มุมตาช มหัล และเป็นที่ตั้งพระศพของจักรพรรดิชาห์ชะฮันเอง ทัชมาฮาลประกอบด้วยตัวอาคารสุสาน, มัสยิด และเกสต์เฮาส์ รายล้อมด้วยสวน การก่อสร้างทัชมาฮาลสำเร็จสมบูรณ์ในปี 1643 แต่มีการก่อสร้างในเฟสอื่น ๆ ของโครงการที่ดำเนินต่อไปอีกกว่า 10 ปี

ทัชมาฮาลได้รับสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในปี 1983 ในฐานะ “เพชรน้ำเอกของศิลปะมุสลิมในอินเดีย และเป็นหนึ่งในงานชิ้นเอกที่ได้รับการชื่นชมในระดับสากล” และได้รับการยกย่องโดยหลายบุคคลให้เป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมโมกุล และสัญลักษณ์ของประวัติศาสตร์อินเดียอันร่ำรวย ทัชมาฮาลมีผู้เดินทาวมาเยี่ยมเยียนราว 7–8 ล้านคนต่อปีในปี 2007

กำแพงเมืองจีน(Great Wall of China)

dกำแพงเมืองจีน สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
กำแพงเมืองจีน(Great Wall of China)

กำแพงเมืองจีนสร้างในสมัยราชวงค์ฉินเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา  ได้สั่งให้สร้างกำแพงหมื่นลี้ตามชายแดน เพื่อป้องกันพวก ซยงหนู เข้ามารุกราน และพวกเติร์กจากทางเหนือ

ส่วนความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า “กำแพงยาวหมื่นลี้” (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร โดยทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ มีหอสังเกตการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง ส่วนประกอบก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่างไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิงซึ่งใช้หินเป็นวัตถุที่ก่อสร้าง

และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555  นักโบราณคดี สำนักงานมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติจีน ได้ตรวจวัดความยาวของสิ่งก่อสร้างจากน้ำมือมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือ “กำแพงเมืองจีน” อย่างเป็นทางการนานร่วม 5 ปี ตั้งแต่ 2008-2012 และพบว่ายาวกว่าที่บันทึกไว้เดิมกว่า 2 เท่า หรือ 21,196.18 กิโลเมตร จากเดิม 8,850 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 15 มณฑลทั่วประเทศและนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่เป็นสถาปัตยกรรมในยุคกลาง และยุคใหม่

สนามกีฬากรุงโรม ( Colosseum of Rome)

Colosseum of Rome สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
สนามกีฬากรุงโรม (Colosseum of Rome)

ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในโลกยุคปัจจุบัน เป็นสนามกีฬากลางแจ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ตัวสนามเป็นรูปตึกวงกลมเพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเข้าใจนักกีฬา และมีการออกแบบทางระบายน้ำเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในสนามขณะเกิดฝนตก และก่อด้วยหินทรายและอิฐประกอบกัน ภายในมีอัฒจรรย์สำหรับให้คนนั่งดูกีฬาซึ่งจุคนได้มากถึง 50,000คนหรืออาจจะมากกว่านั้น ใต้อัฒจรรย์และใต้ดินมีห้องไว้ขังสิงโตและนักโทษที่รอการประหารชีวิตนับร้อยห้อง มีขนาดใหญ่วัดโดยรอบได้ 527 เมตร สูง 57 เมตร สร้างขึ้นราว พ.ศ. 72-80  สนามกีฬาโคลอสเซียมแห่งนี้ สนามกีฬาแห่งนี้สร้างขึ้นโดยกษัตริย์เวชเปเซียน ยุคโรมเรืองอำนาจ ราว ค.ศ. 72 เพื่อใช้เป็นที่ให้นักโทษกับสิงโตสู้กัน หากนักโทษคนใดชนะฆ่าสิงโตที่ดุร้ายด้วยเมือเปล่าก็รอดชีวิต บางครั้งใช้ในการประลองอาวุธ ประลองความเก่งกล้าสามารถของนักรบ หรือขุนศึกแห่งโรมทั้งหลาย สนามกีฬากรุงโรม จึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความรุ่งโรจน์ของอาณาจักรโรมันโบราณ แต่เมื่ออาณาจักรโรมันเสื่อมลง โคลอสเซียม ก็ถูกข้าศึกทำลายหลายครั้งหลายหน ซึ่งในปัจจุบันเหลือแต่ซากโครงสร้างอันใหญ่โตมโหฬารไว้ให้ชม สนามกีฬาแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบของสนามกีฬาต่างๆในปัจจุบันอีกด้วย

หอไอเฟล Eifel Tower งานสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว

Eiffel Tower กรุงปารีส สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว

หอไอเฟล (ฝรั่งเศส: Tour Eiffel, ตูร์แอแฟล) เป็นหอคอยโครงสร้างเหล็กตั้งอยู่บนช็องเดอมาร์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส เป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศสที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกอีกด้วย

หอไอเฟลเป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ตั้งชื่อตามกุสตาฟ ไอเฟล สถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหอคอยนี้ หอไอเฟลสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสัญลักษณ์ของงานแสดงสินค้าโลก ในปี ค.ศ. 1889 (Exposition universelle de Paris de 1889) เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และความสวยทางศิลปะสถาปัตยกรรม หอคอยสูงงดงามแห่งนี้เป็นดาวเด่นที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งต่อมาได้รู้จักในนามหอไอเฟลและกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีส และใน ค.ศ. 2006 นักท่องเที่ยวกว่า 6,719,200 คนได้เข้าเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ และกว่า 200,000,000 คนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ส่งผลให้หอไอเฟลเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีคนเข้าชมมากที่สุดต่อปีอีกด้วย หอไอเฟลสูง 324 เมตร (1,063 ฟุต) หรือสูงเท่ากับตึก 81 ชั้น

Machu Picchu ประเทศเปรู สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว โบราณ

มาชูปิชู เปรู สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
The city of Machu Picchu with Huayna Picchu mountain in the background. Photo / Getty Images

มาชูปิกชู (สเปน: Machu Picchu), มาจูปิกจู (เกชัว: Machu Pikchu) หรือนิยมเรียกอีกชื่อว่า เมืองสาบสูญแห่งอินคา เป็นซากอารยธรรมโบราณของชาวอินคา ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู ที่ความสูงประมาณ 2,430 เมตร อารยธรรมแห่งนี้ได้ถูกคนภายนอกลืมจนกระทั่งมีการค้นพบอีกครั้งโดยนักโบราณคดีที่ชื่อไฮแรม บิงแฮม

มาชูปิกชูเป็นหลักฐานที่สำคัญของจักรวรรดิอินคา ใน ค.ศ. 1983 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนมาชูปิกชูให้เป็นแหล่งมรดกโลก โดยทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่คนนิยมไปศึกษาประวัติศาสตร์

7 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 มาชูปิกชูได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการลงคะแนนทั่วโลกทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่หลักฐานจากเอกสารโบราณจำนวนมากชี้ว่า ชื่อของมันคือ “อวยนาปิกชู” (Huayna Picchu) หรือ “ปิกชู” (Picchu) ต่างหาก ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Ñawpa Pacha ของสถาบันอาณาบริเวณศึกษาแถบเทือกเขาแอนดีส (IAS) โดยทีมผู้วิจัยระบุว่าได้สืบค้นข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นแผนที่ซึ่งระบุชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในช่วงศตวรรษที่ 19 เอกสารจากนักล่าอาณานิคมชาวสเปนในศตวรรษที่ 17 รวมทั้งบันทึกข้อมูลภาคสนามต้นฉบับของไฮรัม บิงแฮม (Hiram Bingham) นักสำรวจชาวอเมริกันผู้ค้นพบมาชูปิกชูเมื่อปี 1911 ด้วย

ทุกสิ่งในโลกนี้ย่อมมี “ผู้สร้าง”

สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงแค่เศษเสี่ยวหนึ่งของสถาปัตยกรรมทั่วโลกที่สำคัญและมีชื่อเสียงที่คอยให้เราได้เดินทางไปค้นหาถึงความน่าอัศจรรย์ต่างๆในการก่อสร้าง วัสดุต่างๆที่ใช้ วิธีการออกแบบ วิธีการวางแผนผังอย่างมีระเบียบแบบแผน  สิ่งต่างๆที่ออกมาสวยงาม และแทรกไปด้วยการบอกเล่าถึงวัฒนธรรมและอารยธรรมในแต่ละยุคแต่ละสมัยบอกเล่ามายังคนรุ่นหลังให้ได้เรียนรู้ ได้ศึกษาโดยผ่านสิ่งก่อสร้างต่างๆเหล่านั้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีสิ่งที่ถูกสร้าง ก็ย่อมมีผู้สร้างด้วยเช่นกัน  และแม้ว่าชีวิตประจำวันของเราทุกวันนี้  เราอาจจะไม่ได้เดินทางไปเที่ยวไกลๆตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น หรืออีกมากมายหลายร้อยแห่งที่ยังไม่ได้กล่าวถึง แต่หากเราจะคิดให้ดีๆเราก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสทได้ว่าปัจจุบันนี้สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยวได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ก้าวแรกที่เดินออกจากบ้าน เราก็เห็นสถาปัตยกรรมมากมายไม่ว่าจะเป็นตึกสูงระฟ้า ห้างสรรพสินค้าต่างๆ และอื่นๆอีกมากมายที่อยู่ล้อมรอบเรา หรือแม้กระทั้ง “บ้าน” ของเราเองก็ตาม

ใส่ความเห็น

Note: Comments on the web site reflect the views of their authors, and not necessarily the views of the bookyourtravel internet portal. You are requested to refrain from insults, swearing and vulgar expression. We reserve the right to delete any comment without notice or explanations.

Your email address will not be published. Required fields are signed with *